วันอังคาร, มิถุนายน ๒๖, ๒๕๕๐

ร่วมชมเสวนา ภาพยนตร์การ์ตูน เรื่อง Gundam


กันดั้ม RX-78
ที่มา :
http://wwwstd.ryu.titech.ac.jp/~thai/forums/lofiversion/index.php/t724.html

เสวนาวิชาการในดวงใจ
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จัดฉายภาพยนตร์การ์ตูน เรื่อง Gundam
การ์ตูนวิทยาศาสตร์ยอดนิยม/จินตนาการล้ำยุค /ภาพสะท้อน สังคม-การเมือง&ประวัติศาสตร์สงครามโลก

ขอเชิญร่วม เสนอความคิด เสวนาแลกเปลี่ยน (ฟรี, มีของว่างรับประทาน)
ใน วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน 2550
เวลา 16:30-19:00 น. ณ ห้อง PB2-205
ตึกฟิสิกส์ 2 ชั้น 2
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
……………………………………………………………………………………


เครื่องบินญี่ปุ่น สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ที่มา :
http://www.wing21.rtaf.mi.th/wboard/question.asp?GID=2465


ตัวละครบางส่วน ในเรื่องกันดั้ม
ที่มา :
http://www.thaigundam.com/phpbb/viewtopic.php?t=219




หุ่นยนต์รบ กันดั้มในรูปแบบต่างๆ
ที่มา :
http://www.thaigundam.com/phpbb/viewtopic.php?t=219

หมายเหตุ :
Gundam เป็นชื่อเรียกย่อๆ ของ series ภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่นขนาดยาวที่เริ่มต้นฉายเป็นตอนๆ ตั้งแต่ปี 1979 และต่อมามีการทำหนังสือการ์ตูนภาพควบคู่กัน คำ “Gundam” เป็นชื่อย่อของหุ่นยนต์รบที่เรียกกันว่า Mobile Suit แบบหนึ่งในเรื่อง มีผู้ให้การยกย่องว่า Gundam คือ “Star Trek ของญี่ปุ่น” เป็นการ์ตูนที่ได้รับความนิยมอยู่ในใจแฟนการ์ตูนจนถึงปัจจุบัน

Gundam เป็นจุดเปลี่ยนจุดหนึ่งของประวัติศาสตร์การ์ตูนญี่ปุ่น การ์ตูนต่อสู้ทั่วๆ ไปในทศวรรษ 70s มีตัวบทเป็นวีรบุรุษต่อสู้กับความชั่วร้าย ใน Gundam ไม่มีวีรบุรุษและอาชญากรที่แท้จริง ทุกตัวละคร ทุกฝ่าย ทุกคู่สงครามต่างมีแรงบันดาลใจ อุดมคติ ความกล้าหาญ ความกลัว ความดี ปีศาจ และคุณค่าในตัวเอง ในเรื่องจำลองภาพสงครามให้ “สมจริง” โดยมีพื้นหลังความคิดเป็นการต่อสู้ทางอุดมการณ์และการเมือง มีความโหดร้าย ความตาย การทำลายล้าง การลดคุณค่าของความเป็นมนุษย์ และสะท้อนชีวิตทหารตัวเล็กๆ ในสงคราม หุ่นยนต์รบ Mobile Suit เทียบได้กับยานเกราะหรือเครื่องบินรบของสงครามในโลกจริง มีหลายฉากคล้ายบางเหตุการณ์ใน สงครามโลกครั้งที่สอง

Gundam เป็นการ์ตูนวิทยาศาสตร์ พยายามสร้างจินตนาการต่อยอดจากฐานความรู้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อให้สมจริงขึ้น เช่น การสร้างแหล่งที่อยู่ของมนุษย์ในอวกาศโดยการใช้ข้อเสนอของนักฟิสิกส์ G. K. O’Neil (1974) โดยใช้ แรงหนีศูนย์กลางสร้างแรงโน้มถ่วงเทียม หุ่นยนต์และเครื่องจักรในเรื่องมีลักษณะคล้ายเครื่องจักรจริงที่มีพลังงานหมด กระสุนหมด ทำงานขัดข้อง เสียหาย มีข้อต่อที่สามารถเคลื่อนไหวได้คล้ายมนุษย์ นอกจากนั้น การออกแบบหุ่นยนต์ ยังแสดงจินตนาการอันวิจิตรก้าวไกลเป็นที่ประทับใจของเด็กๆ และเป็นตัวแบบให้กับการ์ตูนหุ่นยนต์รุ่นต่อๆ มา แม้ภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดที่กำลังเข้าฉายล่าสุดของ Michael Bay และ Steven Spielberg เรื่อง Transformers (2007) ก็ออกแบบหุ่นยนต์รูปร่างคล้ายกับ Mobile Suit Gundam



หุ่นยนต์จาก Transformers (2007) เมื่อฮอลลีวู้ดหมดกึ๋น(จริงๆก็หมดไปตั้งนานแล้วแหละ)
ที่มา : http://extracine.com/?s=transformers

……………………………………………………………………………………
ไปดูกันให้ได้นะครับ

บอกอออนลาย
26 มิย 50

วันพฤหัสบดี, มิถุนายน ๒๑, ๒๕๕๐

ต้อนรับ 75 ปี 24 มิถุนา 2475 สัมมนา การศึกษาและการเมืองไทย


รูปซ้าย หมุด ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ มีข้อความว่า "...ณ ที่นี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎร ได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ เพื่อความเจริญของชาติ"
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1_%E0%B8%9E.%E0%B8%A8._2475
รูปขวามือ "................"
ที่มา :
http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=printpage&artid=626

สัมมนาหัวข้อ การศึกษาและการเมืองไทย
ของกลุ่มนักศึกษา
วันที่ 22-23 มิถุนายน 2550
ณ ศูนย์ฝึกอบรมเกษตรกร อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
........................................................................................
วันที่ 22 มิถุนายน 2550
16.30 น. พบกันที่จุดนัดพบ เพื่อเดินทางสู่การแสวงหา
17.00-18.30 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์การสัมมนาและมารู้จักกัน
18.30 - 19.30 น. รับประทานอาหารค่ำ
19.30 - 21.00 น. ดูหนัง "ครูครับ เราจะสู้เพื่อฝัน(Dead Poet Society)"
21.00 - 22.30 น. แลกเปลี่ยนหัวข้อ "ปัญหาการศึกษาไทยและกิจกรรมนักศึกษา"

วันที่ 23 มิถุนายน 2550
8.00 - 9.00 น. รับประทานอาหารเช้า
9.30 - 10.45 น. ดูวีซีดี "ประวัติศาสตร์การเมืองไทย"
10.50 - 12.00 น. แบ่งกลุ่มย่อย "ได้อะไรกันบ้างจากการดูวีซีดี"
12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง
13.00 - 14.30 น. กลุ่มย่อยสรุปกลุ่มใหญ่
14.45 - 16.30 น. "สถานการณ์การเมืองไทย และประชาธิปไตยไทย"
นำเรื่องโดย
อาจารย์อรรถจักร สัตยานุรักษ์
ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ธนาพล อิ๋วสกุล
บรรณาธิการ นิตยสารฟ้าเดียวกัน

16.30 น.- 17.00 น. สรุปและปิดการสัมมนา

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมที่ พี่โป๊ะ
เบอร์โทรศัพท์ 089- 6350065

บอกอออนลาย

20 มิถุนายน 2550

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นต่อบทความนี้ ที่คำว่า ความคิดเห็น ด้านล่างของบทความ
h i s t o r y


วันศุกร์, มิถุนายน ๑๕, ๒๕๕๐

ฟ้าเดียวกันเล่มใหม่ออกแล้ว!!!




















ปกนิตยสาร ฟ้าเดียวกัน
ที่มา :
http://www.sameskybooks.org/webboard/show.php?Category=sameskybooks&No=12904

ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน 2550)
ก้าวต่อไปของสังคมไทย

สารบัญ
18 บทบรรณาธิการ

หาเรื่องมาเล่า
20 จดหมายถึงกองบรรณาธิการ
24 การศึกษาเรื่องรัฐในสังคมไทย


คำขบวน
32 Subject Siam

รายงานพิเศษ
200 รัฐ: จากมุมมองของชีวิตประจำวัน
วริศา กิตติคุณเสรี
"...คำถามที่ว่ารัฐเกี่ยวข้องกับ ชีวิตประจำวัน ของผู้คนอย่างไร โดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัตน์ที่พรมแดนรัฐชาติพร่าเลือนลงทุกขณะ การศึกษาทางมานุษยวิทยา มีมุมมองต่อรัฐอย่างไร พบกับประเด็นน่าสนใจเหล่านี้ใน การประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยาประจำปี 2550 เรื่อง “รัฐ: จากมุมมองของชีวิตประจำวัน”..."
40 Empire อภิจักรภพ
ภัควดี วีระภาสพงษ์

ปีกซ้ายไร้ปีก
52 ปัญหาประชาธิปไตยและการต่อสู้ทางชนชั้น
สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี

ใต้ฟ้า
60 เมืองไทย
230 สากล

ทัศนะวิพากษ์
70 ก้าวต่อไปของสังคมไทย พิจารณาในด้านนิติธรรม นิติรัฐ และรัฐธรรมนูญ
วรเจตน์ ภาคีรัตน์
"...มุมมองของนักกฎหมายมหาชนผู้ที่ได้รับการยอมรับถึงความเที่ยงตรงในหลักกฎหมาย พิจารณาอนาคตของสังคมไทยหลังรัฐประหาร 19 กันยา จากแง่มุม ด้านนิติธรรม นิติรัฐ และรัฐธรรมนูญ ว่าจะเดินไปสู่หนทางอะไร..."
82 พุทธศาสนาในสยาม – จากหายนะสู่วัฒนะ
สุลักษณ์ ศิวรักษ์
104 โภคทรัพย์แห่งราชวงศ์
ผู้สื่อข่าวเอเชียเซนติเนล
123 จุดเปลี่ยนแห่งทศวรรษ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
สมถวิล ลีลาสุวัฒน์
"...กรุงเทพฯมีพื้นที่ 976,250 ไร่ แต่เป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 8,835 ไร่ หรือคิดเป็น 0.904 % ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นทำเลทองทั้งสิ้น การรุกคืบเข้ามาดำเนินธุรกิจเต็มตัวหลังวิกฤติเศรษฐกิจ ปี 2540 ก่อผลกระทบอย่างสำคัญต่อความสัมพันธ์ที่มีมาแต่เดิมระหว่างผู้เช่ากับเจ้าของสิทธิ์ นี่อาจจะเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในความสัมพันธ์ของสถาบันกษัตริย์กับสังคมไทย..."
141 คำให้การเรื่องสถาบันกษัตริย์กับวัฒนธรรมเซ็นเซอร์
ประวิตร โรจนพฤกษ์
"...ท่ามกลางวัฒนธรรมเทิดทูนมหาบุรุษอย่างไม่รู้จัก “พอเพียง” ส่งผลอย่างสำคัญต่อการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชน เพราะบางครั้งเพียงแต่ตั้งคำถามก็อาจจะกลายเป็นเรื่อง “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ได้ ข้อเขียนในรูปแบบ “คำให้การ” ผู้สื่อข่าวอาวุโส หนังสือพิมพ์เดอะ เนชั่น ชิ้นนี้เป็นประจักษ์พยานวัฒนธรรมเซ็นเซอร์ (ตัวเอง) ได้เป็นอย่างดี..."
148 10 ปีสมัชชาคนจน : ข้อสังเกตบางประการ
อุเชนทร์ เชียงเสน
190 ก่อการร้ายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สิทธา เลิศไพบูลย์ศิริ

ส่องศิลป์
210 เมรุคราวกบฏบวรเดช
ชาตรี ประกิตนนทการ

ปฏิกิริยา
179 ทำไมควรอ่าน รัฐประหาร 19 กันยา
ใจ อึ๊งภากรณ์

มนุษยภาพ
238 การเคลื่อนไหวทางสังคมในอินเดียยุคหลังอาณานิคม
โดม ไกรปกรณ์

ในกระแส
254 การต่อสู้เพื่อความเป็นตัวของตัวเองทางการเมือง
ปิยะมิตร ลีลาธรรม


ที่มา :http://www.sameskybooks.org/webboard/show.php?Category=sameskybooks&No=12904

..................................................................................................

บทความ ‘ฟ้าเดียวกัน’ : คณะตลก. รัฐธรรมนูญ กับก้าวต่อไปของสังคมไทย
(จากเว็บไซต์ ประชาไทออนไลน์)

กลางเดือนกันยายน 2548 ชายผู้หนึ่งลุกขึ้นมาชี้หน้ากล่าวหานายกรัฐมนตรีผู้ซึ่งเคยทำมาหากินร่วมกันมาด้วยสารพันข้อกล่าวหา ตั้งแต่คอร์รัปชั่นไปจนถึงล่วงละเมิดพระราชอำนาจ พร้อมทั้งปลุกระดมผู้คนให้ “สู้เพื่อในหลวง” เมื่อมวลชนเข้าร่วมมากขึ้น เขาได้เคลื่อนขบวนไปเคาะประตูบ้านชายคนที่ 2 กลางดึก เพื่อยื่นบัตรเชิญให้ออกมารัฐประหาร ชายคนที่ 2 เห็นด้วยและซุ่มเตรียมการกับพลพรรคของเขานับแต่นั้น

ขณะที่มวลชนของชายคนแรกเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ชายอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งสวมเสื้อคลุมประชาธิปไตย ผู้มักแอบอ้างเจตนารมณ์ของคณะราษฎร ตลอดจนวีรชนเดือนตุลาและพฤษภา และมักจะพูดแทนประชาชนอยู่เนืองๆ ได้ยอมถวายตัวเข้าไปเป็นหางเครื่องของชายคนแรกอย่างไม่เคอะเขิน จนนำไปสู่ข้อเสนอการถวายคืนพระราชอำนาจโดยการขอ “นายกฯ พระราชทาน” ตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ 2540 โดยไม่เห็นว่าขัดกับเจตนารมณ์ของคณะราษฎรที่เปลี่ยนแปลงการปกครองเพื่อให้ “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย”

เพื่อให้บัตรเชิญรัฐประหารชอบธรรมยิ่งขึ้น ชายชราอีกคนหนึ่งซึ่งสวมเสื้อคลุม “ประธานองคมนตรี/รัฐบุรุษ” ได้ออกมารณรงค์ให้ทหาร “กระด้างกระเดื่อง” ในต่างกรรมต่างวาระ โดยมีสื่อมวลชนทำหน้าที่เป็นกองเชียร์อย่างเมามัน

เมื่อเวลาสุกงอม ชายคนที่ 2 ก็ตระบัดสัตย์ต่อประชาชนโดยเคลื่อนกำลังทหารซึ่งติดริบบิ้นสีเหลืองไว้ที่ปลายกระบอกปืนและผูกผ้าพันคอสีฟ้า ออกมารัฐประหาร ยกเลิกรัฐธรรมนูญ และออกกฎหมายโดยพลการ แต่แทนที่จะถูกประณามกลับมีกองเชียร์ที่เป็นทั้งนักวิชาการ นักประชาธิปไตย สื่อมวลชนออกมาชื่นชมการกระทำดังกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า “เพราะรัฐธรรมนูญตายแล้ว” เท่านั้นยังไม่พอยังมีการแต่งตั้งพวกพ้องให้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ทั้งที่โดยส่วนใหญ่ไม่มีความสามารถแม้แต่น้อย รวมทั้งเพิ่มงบประมาณการทหารขึ้นอีก 29,805,014,800 บาท

แต่อย่างที่ทราบ ตลอด 8 เดือนที่ผ่านมา คณะรัฐประหารของชายคนที่ 2 ไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันมากไปกว่ากวาดล้างพลพรรคไทยรักไทยที่พวกเขาเห็นว่าเป็นตัวการทำลายประชาธิปไตย (โดยที่ไม่ย้อนกลับมาดูตัวเอง)

และเพื่อไม่ให้เคอะเขิน คณะของชายคนนี้จึงออกประกาศเพื่อเอาผิดย้อนหลังพลพรรคไทยรักไทย โดยอุปโลกน์แต่งตั้งชายสวมเสื้อครุยอีก 9 คนขึ้นมาทำหน้าที่ ตลก. รัฐธรรมนูญ เพื่อกำจัดศัตรูทางการเมืองของตน

หลังจากเล่นละครหลอกคนดูมากว่า 8 เดือนในที่สุดคณะตลก. รัฐธรรมนูญ ก็มีคำวินิจฉัยยาวเหยียดซึ่งอาจสรุปได้ดังคำบอกเล่าของแท็กซี่คนหนึ่งว่า

“ถ้าสารวัตร สน. พระราชวัง ออกคำสั่งให้ลูกน้องไปตั้งด่านที่ปากคลองตลาด ปรากฏว่ามีจ่าคนหนึ่งไปรีดไถเงินแท็กซี่ขณะตั้งด่าน แท็กซี่จึงนำเรื่องไปฟ้องศาล ศาลเห็นว่าการตั้งด่านทำในนาม สน. ดังที่ป้ายตั้งด่านระบุไว้ และการกระทำของตำรวจคนนั้นก็พิสูจน์ชัดแล้วว่าทุจริต ดังนั้นมีคำสั่งยุบ สน. และพักงานตำรวจทั้งกรมกองเป็นเวลา 5 ปี”

เมื่อคำวินิจฉัยทำนองนี้ออกมา ทั้งคณะรัฐประหารและกองเชียร์กลับบอกว่าให้ประชาชนเคารพการตัดสินเพราะคำวินิจฉัยของคณะตลก. รัฐธรรมนูญถือเป็นที่สิ้นสุด

การเดินเกมของชายไม่กี่คนและกองเชียร์ทำให้เราในฐานะประชาชนต้องหันมาตั้งคำถามว่า ควรทำอย่างไรกับ “คณะตลกรัฐธรรมนูญ” ที่ประกอบด้วย คณะรัฐประหาร กองเชียร์ และคณะตลก. รัฐธรรมนูญ ?
.....................................................

ปรากฏการณ์ข้างต้นเป็นรูปธรรมของการปกครองโดยคณะรัฐประหาร ซึ่งคงจะไม่มีวันอยู่คู่สังคมการเมืองไทยตลอดไป อย่างไรเสียนักรัฐประหารรุ่นนี้คงจะต้องจากสังคมการเมืองไทยไปในไม่ช้า (เหตุผลไม่ใช่เพราะพวกเขาตระหนักในประชาธิปไตย แต่เป็นเพราะสังคมไทยอนุญาตให้พวกเขาเข้ามาแค่ชั่วคราว) แต่มรดกที่ทิ้งไว้ซึ่งจะอยู่คู่กับสังคมการเมืองไทยไปอีกนาน คือวัฒนธรรมการเมืองแบบพึ่งพิง (ผู้มีบารมี) จนอาจกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการเมืองไทย (หรืออาจจะเป็นอยู่แล้ว?) ที่เรียกกันว่า “อาการเสพติดรัฐประหาร”

ทั้งการรัฐประหารโดยพระราชอำนาจนำ ดังการเรียกร้องขอนายกฯ พระราชทาน ไปจนถึงการ “ออกบัตรเชิญ” ให้คณะรัฐประหารดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ก้าวต่อไปของสังคมไทย จึงไม่ใช่เพียงแค่การต้านรัฐประหารเท่านั้น แต่จักต้องทำลายทั้งเมล็ดพันธุ์และเนื้อดินที่ปูทางไปสู่การรัฐประหาร เพื่อให้อาการเสพติดรัฐประหารสูญสิ้นไปจากสังคมไทย

ที่มา : เว็บไซต์ ประชาไทออนไลน์ http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=8473&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai

บอกอออนลาย
13 มิถุนายน 2550
ปรับปรุง 15 มิถุนายน 2550

ชวนชมและร่วมเสวนา หนัง"the Corporation" พุธ 27 มิย.นี้


ตัวอย่างโปสเตอร์


ภายใต้โครงการบรรยายพิเศษ และเสวนาทางวิชาการ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงจัดบรรยาย ฉายภาพยนตร์ เป็นระยะๆ ตลอดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550

ครั้งแรกเปิดด้วยการฉายภาพยนตร์เรื่อง "the Corporation" ในวันพุธที่ 27 มิย.นี้ เวลา 13.00-16.00 น.
นำเสวนาโดย ภควดี วีระภาสพงษ์ และ ชัชวาล ปุนปัน
ณ ห้องประชุม หม่อมหลวงตุ้ย ชั้น 8 อาคาร 7 คณะมนุษยศาสตร์

ผลงานThai subtitle โดย ภควดี วีระภาสพงษ์
ดูรายละเอียดเกี่ยวกับสารคดีเรื่องนี้ได้ที่ http://www.thecorporation.com/

ทราบแล้วเปลี่ยน!!!
...................................................................................................................
หนังสารคดีเรื่องนี้ยังนำมาฉายอีกหลายที่
ล่าสุดก็คือ ที่ ม.ธรรมศาสตร์ มีรายละเอียดดังนี้

คณะทำงานสัมมนาและเผยแพร่ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ นิตยสารฟ้าเดียวกัน
เชิญร่วมเสวนาประกอบภาพยนตร์สารคดีเรื่องเยี่ยม เจ้าของ 26 รางวัลระดับโลก
“The Corporation: บรรษัทวิปลาส”
“ถ้าบรรษัทเป็นคน มันจะเป็นคนแบบไหน ??!!”

สุดยอดสารคดีตีแผ่ทุกแง่มุมของ ‘บรรษัท’ สถาบันหลักแห่งระบบทุนนิยม พลาดไม่ได้กับบทสัมภาษณ์ของ
Milton Friedman, Noam Chomsky, Naomi Klien, …..

นำเสวนาโดย
รศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
คุณภัควดี วีระภาสพงษ์
คุณสฤณี อาชวานันทกุล

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน 2550 เวลา 13.30 น.
ณ ห้องประชุม ชั้น 5
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
http://www.econ.tu.ac.th/seminar(ฟรี ! ไม่เสียค่าใช้จ่าย)

บอกอออนลาย
11.40
14 มิถุนายน 50
update
18.27
15 มิถุนายน 50


เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นต่อบทความนี้ ที่คำว่า ความคิดเห็น ด้านล่างของบทความ
h i s t o r y

วันพฤหัสบดี, มิถุนายน ๑๔, ๒๕๕๐

ร่วมเสวนา "เสรีภาพทางวิชาการ : เสรีภาพที่มีอยู่จริง?" พฤหัสที่ 28 มิถุนานี้


ตัวอย่างโปสเตอร์

โครงการเดียวกันนี้เองโดย ภาควิชาประวัติศาสตร์
ในวันต่อมา มีการเปิดการเสวนาสนทนากันในหัวข้อ
"เสรีภาพทางวิชาการ : เสรีภาพที่มีอยู่จริง ?"
วันพฤหัสบดีที่ 28 มิย.นี้ เวลา 14.00-16.00 น.
ณ ห้อง 7801
ร่วมเสวนาโดย
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์
อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์
เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช ดำเนินรายการ

บอกอออนลาย
11.54
14 มิถุนายน 50


เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นต่อบทความนี้ ที่คำว่า ความคิดเห็น ด้านล่างของบทความ

h i s t o r y

ทดสอบครั้งที่1 สวัสดีเพื่อนนักศึกษาปริญญาโท

เชียงใหม่
สวัสดีครับ,


ทดสอบครั้งที่ 1 สำหรับพื้นที่ทางประวัติศาสตร์
ในเบื้องต้นจะใช้เป็น ตัวกลางในการพบปะสื่อสาร ของนักศึกษาปริญญาโทเป็นหลัก
ก่อนที่จะกระจายไปสู่แนวคิดต่อเนื่องอื่นๆครับ

บอกอออนไลน์
10.48 น.
14 มิถุนายน 2550


ส่งต่อความคิดเห็นได้โดยคลิ๊กคำว่า "ความคิดเห็น" ข้างล่างนี้...