วันเสาร์, เมษายน ๒๖, ๒๕๕๑

21.7 ล้านที่ต้องจ่ายเพื่อ Royal Space กับพื้นที่ที่เหลือน้อย


บรรยากาศล้อมรั้วก่อสร้าง


ป้ายแสดงรายละเอียดการก่อสร้าง

อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่

งานก่อสร้าง : อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
ปริมาณงาน : คสล.2 ชั้น
ผู้รับจ้าง : หจก.เชียงใหม่เวียงทองก่อสร้าง เลขที่ 29 ถ.ชมดอย ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
ระยะเวลา : เริ่มตั้งแต่ 8 เมษายน 2551 ถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552
ค่าก่อสร้าง : 21,700,000 บาท (ยี่สิบเอ็ดล้านเจ็ดแสนบาทถ้วน)
ผู้ควบคุมงาน : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้ออกแบบ : หน่วยสถาปัตยกรรมบริการ สำนักงานกองทุน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
.....................................................................................
พื้นที่ดังกล่าวเดิมนั้นรองรับการใช้สอย ซึ่งเป็นที่จอดรถของทั้งผู้ที่มาเรียนคณะสังคมศาสตร์
และผู้ที่ใช้หอสมุดกลาง โดยเฉพาะอาคารหอสมุดนั้น เป็นอาคารสำคัญที่โดยมาตรฐานแล้วต้องทำให้เข้าถึงได้ง่าย

เดิมนั้นการเข้าถึงทั้งจากตีนรถ และตีนคนก็เข้าถึงยากพออยู่แล้ว (จะไม่ชวนคุยถึงเรื่องความเชื่องช้า
ของเครื่องสแกนลายนิ้วมือที่มีอยู่น้อยนิด...ซึ่งเป็นประเด็นใหญ่ที่ต้องถกเถียงกัน) ซึ่งควรจะเอางบประมาณ
ไปสร้างการอำนวยความสะดวกที่ว่าด้วยซ้ำ ถ้าหากจะอยาก "ทำความดี" เพื่อใครๆล่ะก็
ควรจะอยู่บนรากฐานของความสมเหตุสมผล และน้ำใจด้วย มิใช่สักแต่ว่าทำอะไรไปโดยที่มุ่งหวังผลระยะสั้น
แต่ในระยะยาวแล้วก็ต้องมาตามแก้ไขกันอย่างนี้

งบประมาณ 21.7 ล้านบาท คงมากพอที่เราจะตั้งคำถามกับการกระทำอะไรโดยลำพัง...

เสาร์ 26
เมษา 51

วันพฤหัสบดี, เมษายน ๑๐, ๒๕๕๑

ไว้อาลัยให้กับสามัญชน...เพื่อนร่วมโลก


ภาพจากสำนักข่าว Al Jazeera (อ้างถึงในประชาไท)

ชีวิตมนุษย์ คนไหนมีค่าเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับ "ความหมาย" ของเขาที่มีในสังคมนั้นๆ
กับข่าว "แรงงานพม่าตายในรถคอนเทนเนอร์" (อ่านข่าวได้จาก
ประชาไท "เหตุเกิดในรถตู้คอนเทนเนอร์...แรงงานพม่าขาดอากาศตาย 54 ศพ" วันที่ 10 เมษา 51
http://www.prachatai.com/05web/th/home/11820) จะทำให้เราได้รู้สึกโศกสลดได้เท่าเทียม
กับคนบางคนหรือไม่นั้นไม่ใช่ประเด็นสำคัญ

แต่การให้ความหมายกับการ "จากไป"ของคนเล็กคนน้อย
ในสังคมไทยเรามิเคยเลย ที่จะได้รับการเข้าใจ (หากจะเข้าข้างตัวเองก็ให้เพิ่มเติมท้ายว่า
"อย่างเป็นประวัติศาสตร์")ทั้งสามัญชน คนในวงการอื่นๆ(ที่ถูกแย่งความเป็น "บิดา" ไปเสียหมด)

จริงอยู่ที่ว่า อาจเป็นการยกย่องคนเล็ก คนน้อยให้เป็น "ฮีโร่" จนโรแมนติกเกินไป
แต่อย่างไรก็ตาม การนำเสนอเรื่องราวของ คนเล็กคนน้อย ก็น่าจะพร้อมให้ถูกวิพากษ์กลับ
อย่างเข้มข้นเช่นเดียวกัน เพื่อมิให้เป็นการประจบประแจงจนเลิดลอย

แรงงานข้ามชาติ ที่มักถูกคิดถึง และพูดถึงอย่างหยาบๆว่า "เป็นแรงงานพม่า" ที่เข้ามาทำงานในเมืองไทย
"อย่างผิดกฎหมาย" เราที่ไม่เคยเข้าใจความซับซ้อนของพม่า(พอๆกับเข้าใจความซับซ้อนของไทยเอง)
ที่พวกเขา หนีไฟสงคราม และความยากลำบากเข้ามา "หาโอกาสที่ดีกว่าของชีวิต" (มิใช่พึ่งพระบรมโพธิสมภารแน่ๆ
...เช่นเดียวกับบรรพบุรุษชาวจีนของผมที่ได้กระเสือกกระสนมาจากแผ่นดินจีนเพื่อหาทางรอดชีวิตด้วยลำแข้ง)

มิหนำซ้ำ พวกเราเองยังใช้แรงงานพวกเขาให้มาเป็นเสมือนทาสในเรือนยุคใหม่ (โดยเฉพาะแรงงานที่ผิดกฎหมาย จะไม่สามารถออกไปไหนมาไหนได้ มิฉะนั้น ตำรวจก็จะจ้องจับให้ร้อง "เพลงชาติ" เพื่อที่จะเป็นข้ออ้าง
ในการ "ไถ" ต่อเจ้าของทาสเหล่านั้น เพื่อให้มีทาสใช้ต่อไปโดยตำรวจไม่เพ่งเล็ง)บ้างก็ถูกนำเข้าสู่อุตสาหกรรม
บริการทางเพศ เช่น สาวไทใหญ่บางคนใน อาบ อบ นวด ย่านรัชดาฯ ที่หน้าตาแยกไม่ออกว่าเป็น "อาหมวย"ที่ไหน แต่พูดไทยไม่ชัด เพราะเธอคือ "ไต" และกรณีอื่นๆที่ผมไม่ทราบอีก

ใน "ความเป็นพม่า" ที่คนไทยยัดเยียดให้ พี่น้องบางคนเป็น "ไต"หรือ"ไทใหญ่" เป็น "มอญ"
หรืออื่นๆ คนเหล่านี้ในไม่ช้า ก็จะถูกผสมและดูดกลืนเข้ามาสู่ "ความเป็นไทย" ยิ่งมีดีกรีความเป็นไทยน้อยเท่าไหร่
พวกเราก็พร้อมที่จะ "กีดกัน"เขา ออกไปจากอาณาบริเวณของความปลอดภัยของเราทุกที

จนกระทั่งเห็น "ความตาย"ของเขา ดุจนรกของคนอื่น ชีวิตของคนอื่น หาใช่พ่อแม่พี่น้องเราไม่


ภาพจาก กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 10 เมษายน 2551

และ่ข่าวนี้ก็คงเป็นข่าวเล็กๆ ที่คงจะไม่ทำให้สังคมไทยตื่นตระหนกเท่ากับข่าว
"ดาราเลิกผัว" "ตัดอัณฑะ" "เมียงู" "เด็กผู้หญิงไม่ใส่กางเกงในไปโรงเรียน"
หรือ "เด็กเอากันก่อน ระหว่าง และหลังวัยเรียน"

ในสถานการณ์ที่คนข้ามรัฐ ลอดรัฐ และพรมแดนของชาติเริ่มสลายไปทุกที ทุกที
จินตนาการของรัฐชาติไทย ก็ยังคับแคบอยู่กับ "ชาติ ศาสน์ กษัตริย์" ฐานประวัติศาสตร์แห่งชาติ
คลานออกมาไม่ไกลมากจากศูนย์กลางที่เป็น "วัด และวัง" ก็จะยิ่งทำให้เรา
ไม่เข้าใจ และไม่แม้แต่จะตั้งคำถามใดๆ กับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นรอบตัว

ณ ที่นี้ จึงขออุทิศพื้นที่อันน้อยนิด ระลึกถึงความตาย และการจากไปของคนเล็กคนน้อย ซึ่งเป็นเพื่อนมนุษย์เช่นเดียวกับเรา...

จาก
มนุษย์ผู้มีเชื้อสายที่ปนเประหว่าง จีนไหหลำ จีนแต้จิ๋ว คนยวน คนไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีชื่อจริงเป็น คำบาลี-สันสกฤต และมีชื่อเล่นเป็น คำฝรั่ง...

พฤหัส 10
เมษา 51

วันศุกร์, เมษายน ๐๔, ๒๕๕๑

เมื่อพื้นที่บริการสาธารณะถูกแทนที่ด้วย Royal Space


ภาพถ่ายบริเวณลานจอดรถที่จะถูกแทนที่ด้วย "อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และสวนพักผ่อน" ถ่ายเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2551
ภาพถ่ายมุมกว้าง บริเวณลานจอดรถที่จะถูกแทนที่ด้วย "อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และสวนพักผ่อน"
ถ่ายเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2551

หตุเกิดที่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่นี่เองครับ
ในเบื้องต้นไม่แน่ใจว่า โครงการฯนี้ มีที่มาที่ไปอย่างไร สังเกตเห็นว่ามีการติดตั้งป้ายดังกล่าวช่วงใกล้ๆ ปิดเทอมที่ผ่านมา

สถานที่ตั้ง : พื้นที่บริเวณลานจอดรถ ระหว่างคณะสังคมศาสตรหอประวัติเชียงใหม่ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเชียงใหม

พื้นที่ดังกล่าวในปัจจุบันใช้เป็นที่รองรับการจอดรถยนต์ของอาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรที่เข้ามาใช้บริการ
บริเวณสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะสังคมศาสตร์ และในกิจกรรมประจำปีเช่น งานหนังสือประจำปี
(Book fair)ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฯลฯ

การใช้สอยพื้นที่ในปัจจุบัน สำหรับผู้ที่มีโอกาสได้ใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะทราบได้ดีว่า ในชั่วโมงเร่งด่วนนั้น
พื้นที่การจอดรถนั้นหาได้ยากแสนเข็ญเพียงใดๆ (แม้พ้นเวลานั้นไปแล้วการได้จอดรถในบริเวณดังกล่าวก็ถือว่า
มีโอกาสไม่มากนัก หากไม่ใช่หลังเลิกเรียน ปิดเทอม หรือวันหยุด)

ทุกวันนี้ผู้ใช้รถยนต์ก็ต้องถ่อไปจอดถึงบริเวณ โรงอาหารคณะมนุษยศาสตร์ หรือข้างหออ่างแก้วกันอยู่แล้ว (และดูเหมือน
ว่าจะไม่เพียงพอเสียด้วยซ้ำ)

แต่ตอนนี้กำลังจะถูกแปลงรูปไปรับใช้อะไรที่เป็นนามธรรมเหลือเกิน...
ข้อความที่พิมพ์ใน
Cut Out ปรากฏดังนี้

"สถานที่ก่อสร้าง
อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และสวนพักผ่อน

เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคล
ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบรอบ 80 พรรษา
ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550

ขอความร่วมมือนำรถยนต์ไปจอดบริเวณข้างหออ่างแก้ว"

...........................................................................................
ศุกร์ 4
เมษา 51