วันจันทร์, กรกฎาคม ๐๙, ๒๕๕๐

ข่าวต่อเนื่อง ว่าด้วย ตัวย่อ ม.เที่ยงคืน สนนท. กกต. น.ต.ประสงค์ ฯลฯ


“เนื่องจากเห็นว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งคณะกรรมการต่างๆที่เกิดขึ้นจากอำนาจรัฐในระบอบรัฐประหาร ยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจในระบอบประชาธิปไตย ตลอดจนสิทธิในการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจึงต้องการให้การศึกษาแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง”
h i s t o r y




ประชาไท
– 9 ก.ค. 50 วานนี้ (8 ก.ค.) มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเผยแพร่ ‘แถลงการณ์เรื่องการคุกคามสิทธิเสรีภาพ’ เนื้อหาประณามการกระทำของทหารที่ควบคุมตัวนายสมบัติ บุญงามอนงค์ ขณะปราศรัยต่อต้าน คมช. ที่ จ.เชียงราย โดยมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเห็นว่านายสมบัติชุมนุมโดยสงบและเป็นการใช้สิทธิพลเมืองในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง การจับกุมดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่อาจยอมรับได้ เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพอย่างร้ายแรง และขอเรียกร้องต่อสังคมให้ช่วยกันกดดันให้มีการยกเลิกกฎอัยการศึก เพื่อเปิดโอกาสให้พลเมืองไทยได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ในท้ายของแถลงการณ์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนยังแจ้งว่าในวันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ตั้งแต่เวลา 13.00 น.เป็นต้นไปจะได้จัดให้มีการบรรยายพิเศษ ณ บริเวณหน้าที่ทำการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) (ห้องโถงชั้นล่าง อาคารศรีจุลทรัพย์)

“เนื่องจากเห็นว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐรวมทั้งคณะกรรมการต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากอำนาจรัฐในระบอบรัฐประหารยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจในระบอบ
ประชาธิปไตยตลอดจนสิทธิในการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจึงต้องการให้
การศึกษาแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง” แถลงการณ์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนระบุ

ทั้งนี้กิจกรรมบรรยายพิเศษดังกล่าวจัดขึ้นโดย เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร, มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) โดย วิทยากรประกอบด้วย
1) รศ.ดร.อรรถจักร สัตยานุรักษ์ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2) รศ.สมเกียรติ ตั้งนโม อธิการบดี มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
3) ผศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4) ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5) อ.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดำเนินรายการโดยนายอุเชนทร์ เชียงเสน ผู้ประสานงาน เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร

โดย จดหมายเชิญชวนร่วมการเสวนาของเครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร ได้ระบุถึงคำพูดของนางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.), กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันที่ 3 ก.ค.50 ได้ออกมาข่มขู่ผู้ที่ออกมารณรงค์โหวตล้มร่างรัฐธรรมนูญว่า

“หากร่าง พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ มีผลบังคับใช้ การกระทำดังกล่าวอาจจะผิดกฎหมายได้ โดยในมาตรา 10 ของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวห้ามไม่ให้วิพากษ์วิจารณ์ ในลักษณะทำให้การออกเสียงประชามติเกิดปัญหา อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายดังกล่าวยังไม่ได้ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) หาก พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ การโฆษณาต่างๆ จะต้องหยุดลงทันที โดยโทษสูงสุดของการกระทำผิดนั้น
รุนแรงถึงขั้นเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง และยุบพรรคการเมืองได้”

ซึ่งความเห็นของนางสดศรีข้างต้น แสดงให้เห็นว่าขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิพื้นฐาน
ของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย และกระบวนการประชามติ จดหมายของเครือข่าย 19 กันยาระบุ

ที่มา : เว็บไซต์ประชาไท
http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_
ptcms&ContentID=8772&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai

...........................................................................................................................................
"ประสงค์" ระบุเป็นสิทธินักวิชาการออกมาต้านรธน.- พร้อมขึ้นเวทีดีเบท
วันที่ 09 ก.ค. 2550

ที่รัฐสภา วันนี้ (9 ก.ค.) น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีนักวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เตรียมรณรงค์ติดริบบิ้นสีเขียวไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ก็เป็นสิทธิ แต่นักวิชาการมีหลายประเภท ในต่างประเทศมีนักวิชาการบางคนที่หากไม่ได้แสดงบทบาท หรือเข้าไปทำงานก็จะต่อต้าน ส่วนของไทยไม่รู้ว่าจะเหมือนหรือไม่ อย่างไรก็ดีคิดว่าการรณรงค์ของนักวิชาการคงมีผลกระทบกับคนส่วนหนึ่งที่เป็นลูกศิษย์ ซึ่งไม่เข้าใจสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ 2550

แต่สำหรับคนส่วนใหญ่ตนเชื่อว่าจะเข้าใจว่าได้รับอะไรจากร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้การร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ร่างบนสถานการณ์ที่จะนำประเทศไปสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ และมีเลือกตั้งตอนสิ้นปี และแก้ไขจุดบกพร่องของรัฐธรรมนูญ 2540 โดยเฉพาะการผูกขาดอำนาจรัฐ การใช้อำนาจรัฐไม่เป็นธรรม การเมืองขาดคุณธรรมจริยธรรม ฉะนั้นการประชาสัมพันธ์ร่างฯ น่าจะสรุปประเด็นใหญ่ๆ ย่อเป็นเอกสารเล็กๆ ถ้าประชาชนเข้าใจ ตนก็เชื่อมั่นว่าจะผ่านประชามติ

ส่วนข้อเสนอการจัดดีเบทนั้น ประธานกรรมาธิการยกร่างฯ กล่าวว่า ฝ่ายเสนอต่อไปติดต่อดู เพราะผู้ร่างไม่ได้เสนอ แต่ถ้าเชิญมาก็พร้อมจะไปชี้แจง

โดยฝ่ายที่ต้องการจัดสามารถไปอาศัยเวทีภาครัฐหรือฝ่ายประชาสัมพันธ์ของส.ส.ร.ก็ได้ ทั้งนี้ ในช่วงโค้งสุดท้าย กมธ.ยกร่างฯ จะจัดคนลงไปช่วยคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำภาค และจังหวัดชี้แจงตามเวทีและในพื้นที่ ให้ประชาชนเข้าใจสารสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ

ที่มา : เว็บไซต์หนังสือพิมพ์มติชน "ข่าวระหว่างวัน รายงานข่าวล่าสุด RSS"
วันที่ 9 กรกฎาคม 50
http://www.matichon.co.th/matichon/
...........................................................................................................................................
เก็บข่าวมาฝากครับ

บอกอออนลาย
9 กรกฎา 50

ไม่มีความคิดเห็น: